EN | TH
บทความน่าสนใจ
บ้านเชียงแหล่งโบราณคดีตัวแทนแหล่งอารยธรรมยุคสำริด สมัยก่อนประวัติศาสตร์
คอนเทนต์

0 รูปภาพ, 0 วีดีโอ

ไทย

เชิญชวนมาย้อนกลับไปสู่ การค้นพบโบราณวัตถุและหลักฐานทางประวัติศาสตร์ ตั้งแต่โครงกระดูก ภาชนะดินเผาเขียนสี กระบวยสำริด เครื่องมือเกษตรกรรม แสดงให้เห็นถึงวิวัฒนาการทางสังคมวัฒนธรรม ที่บ้านเชียง

ปฐมบทโบราณคดีไทย มรดกโลก บ้านเชียง บริเวณแอ่งสกลนคร จังหวัดอุดรธานี

การค้นพบโบราณวัตถุและหลักฐานทางประวัติศาสตร์ ตั้งแต่โครงกระดูก ภาชนะดินเผาเขียนสี กระบวยสำริด เครื่องมือเกษตรกรรม แสดงให้เห็นถึงวิวัฒนาการทางสังคมวัฒนธรรมไปจนถึงการทำเกษตรกรรม และการใช้โลหะ ที่แสดงให้เห็นถึงวิถีชีวิตของผู้คนในยุคก่อนประวัติศาสตร์ ซึ่งถือเป็นตัวแทนการพัฒนาเทคโนโลยีขั้นสูงของอารยธรรมยุคสำริด

จุดเด่นและความพิเศษของบ้านเชียงที่แตกต่างจากสังคมยุคโบราณอื่น ๆ 

จากงานวิจัยของ ดร.จอยซ์ ซี. ไวต์ พบว่า เครื่องมือโลหะถูกใช้เพื่อการอำนวยความสะดวก ไม่มีการใช้ความรุนแรงในการทำสงครามอย่าสม่ำเสมอ เป็นหมู่บ้านที่อยู่กันอย่างสงบ และเป็นสังคมแบบไม่เป็นศูนย์รวม โดยสิ่งที่เป็นจุดบ่งชี้สำคัญคือ

1. การฝังศพ: การค้นพบโครงกระดูก

·  สิ่งของที่อยู่ภายในหลุมศพ: ที่บ้านเชียงในบางหลุมศพไม่มีอะไรเลย หรือในบางหลุม พบกำไร สร้อยข้อเท้าจากสำริด แตกต่างจากสังคมรูปแบบรัฐจะพบโลหะอยู่ในหลุมศพของชนชั้นสูง เนื่องจากใส่ของประดับมีค่า ศพมีการล้อมรอบด้วยคนใช้หรือทาสที่เสียชีวิตพร้อมกัน

·  ตรวจสอบสุขภาพผ่านโครงกระดูก: ที่บ้านเชียง การเช็คสุขภาวะของร่างกายผ่านโครงกระดูกมีรูปแบบเดียวกัน ในสังคมที่มีอารยธรรม แบบรัฐที่มีการแบ่งชนชั้นจะพบว่าโครงกระดูกของชนชั้นล่าง มีปัญหาซึ่งแตกต่างจากโครงกระดูกของชนชั้นสูงที่มีสุขภาพที่ดีกว่า 

·  ตำแหน่งที่ผังศพ: ศพต่าง ๆ ถูกฝังอยู่รอบบ้านหรือใต้บ้าน ไม่ได้มีสุสานหรือที่ฝังศพเฉพาะ แสดงให้เห็นถึงสังคมรูปแบบ เครือญาติ ทำให้เห็นถึงการอยู่ร่วมกันระหว่างคนตายและคนเป็นอย่างใกล้ชิด

2. ภาชนะดินเผา: เทคโนโลยีการผลิตภาชนะดินเผา การเขียนลวดลายและการให้ความหมายของลวดลาย ตัวอย่างประเด็นที่น่าสนใจ

·  การเขียนลวดลาย

- สมัยเริ่มต้น การการแต่งสีลวดลายแบบคดโค้งผสมการระบายสี

- สมัยกลาง ภาชนะเป็นสีขาว ตกแต่งด้วยลายเขียนสีแดง

- สมัยปลาย ภาชนะเขียนลายสีแดงบนพื้นสีขาวนวล ต่อมา ภาชนะดินเผาเขียนลายสีแดงบนพื้นสีแดง และในช่วงสุดท้าย เริ่มมีภาชนะดิน เผาทาด้วยน้าดินสีแดงแล้วขัดมัน

·  การให้ความหมายของลวดลาย

- ลายก้นขด: ผู้หญิงแต่งกายใส่กระโปรง มีหมวก สอดคล้องกับการค้นพบวัฒนธรรมการทอผ้า ที่ค้นพบเศษผ้าที่ติดอยู่กับเครื่องมือสำริด

- ลายสัตว์เลียงลูกด้วยนม: ลักษณะคล้ายลูกวัว เนื่องจากบ้านเชียงเป็นสังคมเกษตรกรรม จากการค้นพบโครงกระดูสัตว์ใช้แรงงานงาน ที่แสดงให้เห็นถึงความเจริญก้าวหน้าทางเกษตรกรรมที่ใช้แรงงานสัตว์แทนคน

จากการพบเห็นลวดลายที่มาจากสิ่งของรอบตัว สะท้อนให้เห็นความนิยมที่นำสิ่งแวดล้อมรอบข้างมาบอกเล่าเรื่องราว และลวดลายนี้ก็ไม่พบในแหล่งอื่น จึงถูกคัดเลือกให้เป็นสิ่งมหัศจรรย์

ออกสำรวดยุคสำริด ณ สถานที่จริง ที่บ้านเชียง

เราสามารถเดินทางไปสัมผัสกับอารยธรรมบ้านเชียงได้ที่ พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ บ้านเชียง อำเภอหนองหาน จังหวัดอุดรธานี ซึ่งถือเป็นแหล่งประวัติศาสตร์สำคัญทางภาคตะวันออกเฉียงเหนือของประเทศไทย และภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ที่ได้รับการประกาศให้เป็นมรดกโลก โดยการเข้าชมแบ่งเป็น 2 ส่วนได้แก่

ส่วนที่ 1: เขตวัดโพธิ์ศรีใน
พิพิธภัณฑ์เปิดที่เป็นแหล่งโบราณคดีแสดงให้เห็นขั้นตอนการขุดค้นโบราณคดี และโบราณวัตถุ โดยส่วนใหญ่เป็นภาชนะดินเผาที่ฝังรวมกับศพที่กลายมาเป็นโครงกระดูกในปัจจุบัน

ส่วนที่ 2: อาคารจัด
แสดงอธิบายเรื่องราวและวัฒนธรรมของบ้านเชียงในยุคก่อนประวัติศาสตร์ รวมถึงเครื่องมือ เครื่องใช้ ที่แสดงถึงเทคโนโลยีในยุคนั้น รวมถึงวัตถุโบราณ และนิทรรศการบ้านเชียงที่เคยจัดแสดง ณ ประเทศสหรัฐอเมริกา

ติดตามรับชมสารคดีเพิ่มเติม เกี่ยวกับบ้านเชียงได้ที่ เรื่องราวประเทศไทย หัวข้อประวัติศาสตร์


บริษัทฯ ขอสงวนสิทธิ์ในการใช้งานเนื้อหาและข้อความ ภาพถ่าย วิดีโอ กราฟฟิค เพลง สื่อ และเนื้อหาต่าง ๆ บนเว็บไซต์นี้ เพื่อการใช้งานส่วนบุคคลเท่านั้น และห้ามมิให้ทำการคัดลอก ทำซ้ำ แก้ไข เปลี่ยนแปลง เผยแพร่สู่สาธารณะ ส่งต่อ เนื้อหา และข้อความ ส่วนหนึ่งส่วนใดหรือทั้งหมด โดยไม่ได้รับอนุญาตจากเจ้าของลิขสิทธิ์และ/หรือจากบริษัทฯ ผู้ใดละเมิดถือเป็นความผิดตามกฏหมาย 

มาเป็นสมาชิก Premium กับเราในราคาพิเศษ ดูรายละเอียด
เข้าสู่ระบบ สำหรับองค์กร
Dear-ASIA.com Enterprise
ลงทะเบียน
เพื่อเป็นสมาชิก Dear-ASIA.com
หรือ
เคยลงทะเบียนแล้ว เข้าสู่ระบบ คลิก
เข้าสู่ระบบ สำหรับ
Premium Membership
หรือ
หากคุณไม่เคยลงทะเบียน สมาชิกใหม่ คลิก