EN | TH
ตัวอย่างการสอน
อิทธิพลของ“เครื่องเทศ”ต่อประวัติศาสตร์เศรษฐกิจของเอเชียตะวันออกเฉียงใต้
คอนเทนต์

0 รูปภาพ, 0 วีดีโอ

Big idea

ออกเดินตามรอย“เครื่องเทศ”ที่เชื่อมต่อความสัมพันธ์ระหว่างภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้

“เครื่องเทศ” เชื่อมต่อความสัมพันธ์ระหว่างภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้กับยุโรป จีน อินเดีย และตะวันออกกลาง ผ่านการค้าข้ามพรมแดน และสร้างการเปลี่ยนแปลงทางเศรษฐกิจ สังคม วัฒนธรรมและการเมืองของภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ไปตลอดกาล

“เครื่องเทศ” มีอิทธิพลต่อคุณภาพชีวิตของผู้คนในช่วงศตวรรษที่ 13 - 15 อย่างมากทั้งในการ ‘การปรุงอาหาร’ ‘การถนอมอาหาร’ ‘คุณค่าทางยา’ และ ‘พิธีกรรมทางศาสนา’ การค้าเครื่องเทศ จึงทำให้เกิดความสัมพันธ์ระหว่างประเทศในหลายมิติ ทั้งความสัมพันธ์ระหว่างการค้ากับการเมือง สังคมกับศาสนา และระหว่างเอเชียตะวันออกเฉียงใต้กับสังคมโลก

*เนื้อหาในบทความนี้ ประกอบไปด้วยสาระความรู้ จาก Dear-ASIA.com และกิจกรรมการสอนที่น่าสนใจดัดแปลงจาก โครงการสร้างความเข้าใจในประวัติศาสตร์ร่วมรากอุษาคเนย์ โดยแผนกวัฒนธรรม ยูเนสโก (UNESCO)*

วัตถุประสงค์การเรียนรู้

ความรู้

1. นักเรียนได้เรียนรู้ความสำคัญของเครื่องเทศในอดีตและปัจจุบัน และอธิบายได้ว่า เหตุใดเครื่องเทศเหล่านี้จึงเป็นที่ต้องการในอดีต

2. นักเรียนอธิบายได้ว่า ประเทศเอเชียตะวันออกเฉียงใต้เชื่อมสัมพันธ์กับส่วนอื่น ๆ ของโลกผ่านทางการค้าเครื่องเทศอย่างไร

3. อธิบายว่า สังคมเอเชียตะวันออกเฉียงใต้มีการเปลี่ยนแปลงอย่างไรจากการเชื่อมต่อภูมิภาคเข้ากับประเทศอื่น และปฏิสัมพันธ์ทางการค้าดังกล่าว

ทักษะ

1. ศึกษาข้อมูลเพื่อทำความเข้าใจว่า การค้าเครื่องเทศเชื่อมต่อเอเชียตะวันออกเฉียงใต้กับภูมิภาค หรือมหาอำนาจอื่นของโลกอย่างไร และพิจารณาว่า สังคมเอเชียตะวันออกเฉียงใต้มีการเปลี่ยนแปลงไปในมิติทางการเมือง เศรษฐกิจ และสังคมและวัฒนธรรมอย่างไร

ทัศนคติ

1. ด้วยการศึกษาความเชื่อมโยงระหว่างเอเชียตะวันออกเฉียงใต้และส่วนอื่น ๆ ของโลก นักเรียนจะได้เข้าใจเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ในฐานะภูมิภาคที่มีพลวัตรที่คึกคัก หลากวัฒนธรรม และเปลี่ยนแปลงอยู่ตลอด

ขั้นตอนการจัดการเรียนรู้ (2 คาบเรียน) สำหรับนักเรียนระดับชั้นมัธยมศึกษาตอนต้น/ ตอนปลาย

1. ขั้นเกริ่นนำเข้าสู่บทเรียน (10 นาที)

ครูเตรียมเครื่องเทศเป็นตัวอย่างในชั้นเรียน ได้แก่ กานพลู อบเชย พริกไทย กระวาน และลูกจันทน์ จากนั้นสอบถามนักเรียนด้วยคำถามต่อไปนี้ (อาจสุ่มถามนักเรียนรายบุคคล) “นักเรียนเคยพบเห็น หรือเคยมีประสบการณ์ใช้เครื่องเทศ หรือไม่ และเคยนำเครื่องเทศมาใช้ทำอะไร?” จากนั้น ครูกล่าวทวนคำตอบของนักเรียน เช่น ‘การเตรียมอาหาร’ ‘การถนอมอาหาร’ ‘คุณค่าทางยา’ ‘พิธีกรรมทางศาสนา’ ฯลฯ เพื่อให้นักเรียนเห็นความเชื่อมโยงระหว่างหัวข้อนี้กับชีวิตประจำวันของตน

2. ขั้นดำเนินบทเรียน (30 นาที)

2.1) ครูบรรยายดังหัวข้อดังต่อไปนี้ (ใช้เวลา 10 นาที)

1. เส้นทางการค้าเครื่องเทศโบราณ และเมืองท่าที่สำคัญ

2. (เกริ่นนำ) ลักษณะการเปลี่ยนแปลงที่การค้าเครื่องเทศส่งผลต่อเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ และความสำคัญของเครื่องเทศในอดีต ที่ทำให้เป็นสินค้าที่เป็นที่ต้องการทั่วโลก

· สื่อประกอบการบรรยาย เรื่อง เส้นทางการค้าเครื่องเทศโบราณ และเมืองท่าที่สำคัญ คลิกที่นี่
· แหล่งข้อมูลจากเกร็ดความรู้ เรื่อง การค้าเครื่องเทศ เข้าถึงได้จาก https://www.dear-asia.com/th-library-210
· เกร็ดความรู้ เรื่อง สุวรรณภูมิ เข้าถึงได้จาก https://www.dear-asia.com/th-library-200)

2.2) ครูจัดสถานีการเรียนรู้ 4 สถานีดังต่อไปนี้ เพื่อให้นักเรียนเรียนรู้ความสำคัญในอดีตเบื้องหลังความต้องการเครื่องเทศของคนในสมัยนั้น และความสัมพันธ์ระหว่างประเทศด้านการเมือง เศรษฐกิจ และสังคมวัฒนธรรมที่เปลี่ยนแปลงไปจากการค้าเครื่องเทศ

· สถานีที่ 1 ความสำคัญของเครื่องเทศในอดีต ที่ทำให้เป็นสินค้าที่เป็นที่ต้องการทั่วโลก
· สถานีที่ 2 การค้าเครื่องเทศต่อการเปลี่ยนแปลงทางการเมือง
· สถานีที่ 3 การค้าเครื่องเทศต่อการเปลี่ยนแปลงทางสังคม และวัฒนธรรม
· สถานีที่ 4 การค้าเครื่องเทศต่อการเปลี่ยนแปลงทางเศรษฐกิจ

สื่อประกอบการเรียนรู้สถานีการเรียนรู้ 4 สถานี คลิกที่นี่

· [ตัวอย่างสื่อการเรียนรู้] สถานีที่ 1 ความสำคัญของเครื่องเทศในอดีต ที่ทำให้เป็นสินค้าที่เป็นที่ต้องการทั่วโลก

2.3) จากนั้นแบ่งกลุ่มนักเรียนออกเป็น 4 กลุ่ม และแบ่งบทบาทของนักเรียนในแต่ละกลุ่มให้มีผู้อ่านเนื้อหาความรู้ สรุปย่อความ และทบทวนคำตอบ เพื่อให้สมาชิกในกลุ่มสามารถจดบันทึกลงบนเอกสารประกอบการทำกิจกรรมได้ครบถ้วน โดยให้เวลานักเรียนแต่ละกลุ่มได้เรียนรู้สถานีการเรียนรู้ สถานีละ 5 นาที จากนั้น ให้เวลานักเรียนได้ร่วมกันตอบเอกสารประกอบการเรียนให้ครบถ้วนอีก 5 -10 นาที หลังจากศึกษาครบทุกสถานี"

เอกสารประกอบการทำกิจกรรมสถานีการเรียนรู้ คลิกที่นี่

2.4) นักเรียนรวบรวมเอกสารประกอบการจัดสถานีการเรียนรู้จากนักเรียนเป็นรายกลุ่มส่งครู

3. ขั้นสรุป (10 นาที)

3.1) ครูทบทวนความรู้ที่ได้ในคาบเรียน ดังนี้

การค้าเครื่องเทศแสดงให้เห็นถึงความสัมพันธ์ และการเปลี่ยนแปลงมากมายในภูมิภาค ได้แก่ ความสัมพันธ์ระหว่างประเทศ ความสัมพันธ์ระหว่างการค้าและการเมือง สังคมและศาสนา และบทบาทที่สำคัญของภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้กับมหาอำนาจในอดีต

3.2) จากนั้นให้นักเรียนทำบัตรผ่าน เพื่อเป็นการทบทวนสิ่งที่ได้เรียนรู้มา และส่งคืนครูเมื่อหมดคาบเรียน 
เอกสารประกอบการทำกิจกรรมขั้นสรุป-บัตรผ่าน คลิกที่นี่

ที่มาข้อมูลไอเดียการสอนจาก Dear-Asia.com
· ตัวอย่างการสอนเส้นทางการเดินเรือ Malaka (UNESCO): https://www.dear-asia.com/th-library-473

· เกร็ดความรู้ เรื่อง เครื่องเทศ: https://www.dear-asia.com/th-library-210

· เกร็ดความรู้ เรื่อง สุวรรณภูมิ: https://www.dear-asia.com/th-library-200

· เกร็ดความรู้ เรื่อง หมู่เกาะเครื่องเทศ: https://www.dear-asia.com/th-library-59

· เนื้อหาของ Dear-ASIA.com เกี่ยวกับเครื่องเทศ (Video & article): https://www.dear-asia.com/th-search?qType=&q=%E0%B9%80%E0%B8%84%E0%B8%A3%E0%B8%B7%E0%B9%88%E0%B8%AD%E0%B8%87%E0%B9%80%E0%B8%97%E0%B8%A8


บริษัทฯ ขอสงวนสิทธิ์ในการใช้งานเนื้อหาและข้อความ ภาพถ่าย วิดีโอ กราฟฟิค เพลง สื่อ และเนื้อหาต่าง ๆ บนเว็บไซต์นี้ เพื่อการใช้งานส่วนบุคคลเท่านั้น และห้ามมิให้ทำการคัดลอก ทำซ้ำ แก้ไข เปลี่ยนแปลง เผยแพร่สู่สาธารณะ ส่งต่อ เนื้อหา และข้อความ ส่วนหนึ่งส่วนใดหรือทั้งหมด โดยไม่ได้รับอนุญาตจากเจ้าของลิขสิทธิ์และ/หรือจากบริษัทฯ ผู้ใดละเมิดถือเป็นความผิดตามกฏหมาย

มาเป็นสมาชิก Premium กับเราในราคาพิเศษ ดูรายละเอียด
เข้าสู่ระบบ สำหรับองค์กร
Dear-ASIA.com Enterprise
ลงทะเบียน
เพื่อเป็นสมาชิก Dear-ASIA.com
หรือ
เคยลงทะเบียนแล้ว เข้าสู่ระบบ คลิก
เข้าสู่ระบบ สำหรับ
Premium Membership
หรือ
หากคุณไม่เคยลงทะเบียน สมาชิกใหม่ คลิก