EN | TH
ตัวอย่างการสอน
Visual note สรุปวิธีการทางประวัติศาสตร์ด้วยภาพ
คอนเทนต์

0 รูปภาพ, 0 วีดีโอ

Big idea

เรียนรู้ปวิธีการทางประวัติศาสตร์อย่างสนุก เข้าใจง่าย ด้วยการสรุปด้วยรูปภาพการ์ตูน (Visual note)

“ประวัติศาสตร์ไม่ใช่การจดจำวัน หรือ คำคม ที่น่าเบื่อ แต่ประวัติศาสตร์ คือเรื่องเกี่ยวกับคน” ออกเดินทางศึกษาต้นกำเนินวิธีการทางประวัติศาตร์ 

Dear-ASIA.com และสรุปสังคมด้วยภาพ by พี่นุ๊ก เชิญชวนคุณครูและนักเรียนติดตามเรียนรู้ซีรีย์ประวัติศาสตร์ ในหัวข้อวิธีการทางประวัติศาสตร์อย่างสนุก เข้าใจง่าย ด้วยการสรุปด้วยรูปภาพการ์ตูน (Visual note) และใบงาน เพื่อเป็นไอเดียประกอบการสอน

คลิปวีดีโอเกี่ยวกับการขุดค้นเรื่องราวทางยุคก่อนประวัติศาตร์เพิ่มเติม

· อินโดนีเซีย: เรื่องราวประเทศอินโดนีเซีย หัวข้อ ประวัติศาสตร์ ยุคก่อนประวัติศาสตร์
· ฟิลิปปินส์:  เรื่องราวประเทศฟิลิปินส์ หัวข้อ ประวัติศาสตร์ ยุคก่อนประวัติศาสตร์
· เวียดนาม: เรื่องราวประเทศเวียดนาม หัวข้อ ประวัติศาสตร์ ยุคก่อนประวัติศาสตร์
· ประเทศไทย: เรื่องราวประเทศไทย หัวข้อ ประวัติศาสตร์ ยุคก่อนประวัติศาสตร์
· เมียนมา:เรื่องราวประเทศเมียนมา หัวข้อ ประวัติศาสตร์ ช่วงต้น 
· มาเลเซีย: เรื่องราวประเทศมาเลเซีย หัวข้อ ประวัติศาสตร์ ยุคโบราณก่อนประวัติศาสตร์
· ลาว: เรื่องราวประเทศลาว หัวข้อ ประวัติศาสตร์ ยุคก่อนประวัติศาสตร์
· ไอเดียกิจกรรมตัวอย่างการสอน เพิ่มเติมได้ที่: ศูนย์กลางอำนาจยุคต้นบ้านเชียง
· บทความที่น่าสนใจ: บ้านเชียงแหล่งโบราณคดีตัวแทนแหล่งอารยธรรมยุคสำริด สมัยก่อนประวัติศาสตร์

ความหมายของวิธีการทางประวัติศาสตร์

วิธีการทางประวัติศาสตร์ คือ กระบวนการศึกษาเรื่องราวต่างๆในอดีตของสังคมมนุษย์ โดยจะอาศัยหลักฐานทางประวัติศาสตร์เป็นข้อมูลสำหรับการวิเคราะห์ จุดเริ่มต้นครั้งแรกของวิธีการทางประวัติศาสตร์ถูกคิดค้นโดย เฮโรโดตัส ชาวกรีกโบราณ ผู้ถือยกย่องว่าเป็นบิดาแห่งประวัติศาสตร์โลก

บิดาแห่งประวัติศาสตร์ไทย

สมเด็จพระบรมวงศ์เธอกรมพระยาดำรงราชานุภาพ (พ.ศ. 2405 – 2486) เป็นบุคคลไทยคนแรกที่ถูกยกย่องให้ เป็นบุคคลสำคัญของโลกเมื่อปี พ.ศ. 2505 ในฐานะที่เป็นบิดาแห่งประวัติศาสตร์ไทย โดยท่านเป็นพระราชโอรสพระองค์ที่ 57 ของรัขกาลที่ 4 ทรงพระนิพนธ์ตำราด้านประวัติศาสตร์และโบราณคดีอันมีคุณค่าของไทย ที่สืบทอดต่อมาเป็นมรดกทางปัญญาของขาติไทย

5 ขั้นตอนวิธีการศึกษาประวัติศาสตร์

วิธีการทางประวัติศาสตร์ คือ กระบวนการศึกษาเรื่องราวต่างๆในอดีตของสังคมมนุษย์ โดยอาศัยหลักฐานทางประวัติศาสตร์เป็นข้อมูลในการวิเคราะห์ มีด้วยกันทั้งหมด 5 ขั้นตอน

โดยจุดเริ่มต้นของวิธีการทางประวัติศาสตร์ถูกคิดค้นเมื่อประมาณ 2,500 ปีก่อน โดยเฮโรโดตัส นักประวัติศาสตร์ชาวกรีกโบราณ

ขั้นตอนที่ 1 กำหนดหัวข้อเรื่องที่จะศึกษา

ในขั้นที่ 1 นักประวัติศาสตร์กำหนดหัวข้อที่จะศึกษา ต้องมีจุดประสงค์ชัดเจนว่าจะศึกษาอะไร อดีตส่วนไหน สมัยอะไร ช่วงเวลาไหน และเพราะเหตุใด?
ตัวอย่างเช่น สภาพความเป็นอยู่ของประชาชนในสมัยสมเด็จพระนารายณ์มหาราช , ศิลปะสมัยกรุงธนบุรี เป็นต้น

ขั้นตอนที่ 2 รวบรวมข้อมูล

ขั้นที่ 2 รวบรวมหลักฐานทั้งที่เป็นลายลักษณ์อักษร และที่ไม่เป็นลายลักษณ์อักษร โดยมีทั้งที่เป็นหลักฐานชั้นต้น และหลักฐานชั้นรองให้มากที่สุด เช่นเดินทางไปวัดอินทารามเพื่อดูศิลปะ สิ่งก่อสร้างในสมัยสมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราช

ขั้นตอนที่ 3 ประเมินและตรวจสอบคุณค่าของหลักฐาน

ขั้นที่ 3 นี้จะพิจารณาหลักฐานว่า หลักฐานเป็นของจริงหรือไม่ (ประเมินภายนอก) และดูว่าหลักฐานที่สร้างขึ้นมานั้น น่าเชื่อถือเพียงใด (ประเมินภายใน)

ขั้นตอนที่ 4 ตีความหลักฐานและวิเคราะห์ข้อมูล

ขั้นที่ 4 ทำความเข้าใจว่าหลักฐานนั้นมีความหมายและให้ข้อมูลอย่างไร ซึ่งเป็นขั้นตอนที่ต้องอาศัยความสามารถของผู้ตีความอย่างมาก เพราะผู้ตีความต้องมีใจเป็นกลาง มีความรู้ในประวัติศาสตร์ยุคนั้นอย่างสูง

ขั้นตอนที่ 5 เรียบเรียงและนำเสนอ

ขั้นที่ 5 เป็นขั้นตอนสุดท้ายที่มีความสำคัญ จะเป็นขั้นตอนที่แยกข้อเท็จจริงเป็นหมวดหมู่และนำมาเรียบเรียงเชื่อมโยงหาความสัมพันธ์ เพื่อที่จะนำเสนอเป็น “ความรู้ใหม่ทางประวัติศาสตร์”

สรุป 5 ขั้นตอนทางประวัติศาสตร์ในรูปเดียว
 

ออกแบบใบงานชวนกระตุ๊กต่อมเอ๊ะที่สอดคล้องกับมาตรฐานและตัวชี้วัดวิธีการทางประวัติศาสตร์

ชวนคุณครูและนักเรียนกระตุ๊กต่อมเอ๊ะ ผ่านใบงานและกิจกรรมสนุกๆ พร้อมด้วยเนื้อหาวิธีการทางประวัติศาสตร์ ที่สอดคล้องกับตัวชี้วัดหลักสูตรแกนกลาง โดยเนื้อหาในหัวข้อนี้สอดคล้องกับมาตรฐานและตัวชี้วัดของหลักสูตรแกนกลาง วิชาสังคม ส 4.1 เข้าใจความหมาย ความสำคัญของเวลาและยุคสมัยทางประวัติศาสตร์ สามารถใช้วิธีการทางประวัติศาสตร์บนพื้นฐานของความเป็นเหตุเป็นผลมาวิเคราะห์เหตุการณ์ต่างๆ อย่างเป็นระบบ โดยแบ่งเป็นระดับชั้นดังนี้

ระดับชั้นประถมศึกษาชั้นปีที่ 6 
ป.6/4.1 ข้อ 1 ขั้นตอนทางประวัติศาสตร์: ตัวอย่างไฟล์สื่อประกอบการเรียนรู้ คลิกที่นี่

                                                                ตัวอย่างใบงาน ป.6/4.1 ข้อ 1 ขั้นตอนทางประวัติศาสตร์


บริษัทฯ ขอสงวนสิทธิ์ในการใช้งานเนื้อหาและข้อความ ภาพถ่าย วิดีโอ กราฟฟิค เพลง สื่อ และเนื้อหาต่าง ๆ บนเว็บไซต์นี้ เพื่อการใช้งานส่วนบุคคลเท่านั้น และห้ามมิให้ทำการคัดลอก ทำซ้ำ แก้ไข เปลี่ยนแปลง เผยแพร่สู่สาธารณะ ส่งต่อ เนื้อหา และข้อความ ส่วนหนึ่งส่วนใดหรือทั้งหมด โดยไม่ได้รับอนุญาตจากเจ้าของลิขสิทธิ์และ/หรือจากบริษัทฯ ผู้ใดละเมิดถือเป็นความผิดตามกฏหมาย 

มาเป็นสมาชิก Premium กับเราในราคาพิเศษ ดูรายละเอียด
เข้าสู่ระบบ สำหรับองค์กร
Dear-ASIA.com Enterprise
ลงทะเบียน
เพื่อเป็นสมาชิก Dear-ASIA.com
หรือ
เคยลงทะเบียนแล้ว เข้าสู่ระบบ คลิก
เข้าสู่ระบบ สำหรับ
Premium Membership
หรือ
หากคุณไม่เคยลงทะเบียน สมาชิกใหม่ คลิก